ข้าวโพดข้าวเหนียวข้าวก่ำสีม่วงและการแปรรูป

ข้าวโพดข้าวเหนียวข้าวก่ำสีม่วงและการแปรรูป

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุน โครงการบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งม รศ.ดร.กมล เลิศรัตน์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เก็บ รวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด เน้นกลุ่มข้าวโพดฝักสด คือ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียน จากทั้งในและต่างประเทศ ประเมินลักษณะพันธุกรรม ขยายพันธุ์ และให้บริการเชื้อพันธุกรรมแก่ผู้ที่สนใจที่จะนำ เชื้อพันธุกรรมดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ทั้งด้านการวิจัยและ พัฒนา หรือการพัฒนาต่อยอดในเชิงการค้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ถึงปัจจุบัน รวบรวมเชื้อพันธุกรรมจำนวนกว่า 500 สายพันธุ มีการถ่ายทอดเชื้อพันธุกรรมให้แก่ นักปรับปรุงพันธุ์แล้วจำนวน 92 สายพันธุ์ ผู้ที่สนใจสามารถ ดูรายละเอียดเชื้อพันธุกรรมต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ www.biotec.or.th/germplasm 

นอกจากการบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมแล้ว ยังดำเนินการสร้างประชากร และพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อให้นักปรับปรุงพันธ์ทั้งภาครฐและเอกชนนำไปพัฒนา ต่อยอด รวมถึงการถ่ายทอดพันธุ์ข้าวโพดผสมเปิด ให้เกษตรกร ตัวอย่างเช่น พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวข้าวก่ำสีม่วง ใช้ประโยชน์ได้ทั้งเมล็ด ซัง และไหม ที่มีสีม่วง มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) สูง สายพันธุ์ ข้าวโพดพันธุ์ต่างๆ ได้ถ่ายทอดให้เกษตรกรในพื้นที่ 64 จังหวัด

ลักษณะประจําพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวข้าวก่ำ

เมล็ด ซัง และไหม มีสีม่วงแดง-ม่วงดำ อายุเก็บเกี่ยว 60-65 วัน (18-20 วันหลังออกไหม) ความสูงฝัก 90-100 เซนติเมตร ความสูงต้น 170-180 เซนติเมตร

ผลผลิตฝักสดหลังปอกเปลือก

ความยาวฝัก 17.0-18.0 เซนติเมตร ความกว้างฝัก 4.0-4.5 เซนติเมตร น้ำหนักฝัก 210 กรัม น้ำหนักเมล็ด 100 กรัม น้ำหนักซัง 110 กรัม น้ำหนักไหมสด 3.5 กรัม

ข้อดีและข้อจํากัดของพันธุ์ผสมเปด

ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงพันธุ์ผสมเปิด พันธุ์นี้เหมาะ สำหรับเกษตรกรรายย่อย เพื่อปลูกรับประทานเองภายใน ครัวเรือนหรือขายในท้องถิ่น ข้าวโพดพันธุ์มีความแข็งแรง เก็บเม็ลดไว้ใช้เองได้ เนื่องจากข้าวโพดพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ทาง จะมีการกระจายตัวของลักษณะความสูงต้น รูปทรงฝัก สีเปลือกหุ้มฝัก อายุเก็บเกี่ยว รสชาติ ขนาดเมล็ด จะมีจำนวนฝักที่ยังคงลักษณะเม็ลดและซังสีม่วงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75-80 มีเมล็ดสีขาวหรือเมล็ดสีเหลืองบนฝักที่มีซังสีขาว และจำนวนฝักที่มีเมล็ดสีขาวบนฝักที่มีซังสีม่วง ประมาณ ร้อยละ 20-25

พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวก่ำ เหมาะนำไปแปรรูปเพี่อ สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ข้าวโพดคั่ว (corn nut) น้ำนมข้าวโพด คุกกี้ ชา เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร

ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชฯ ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวโพด ข้าวเหนียวสีม่วงพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวในชื่อ “ข้าวก่ำหวาน” ที่มีลักษณะพิเศิษ คือมีเมล็ดที่มีรสหวานแทรกอยู่ในฝัก ที่ส่วนใหญเป็นเมล็ดข้าวโพดข้าวเหนียวในฝักเดียวกัน จำหน่ายโดยบริษัทเจียไต๋ เมล็ดพันธุ์จำกัด ภายใต้ชื่อการค้า “สุพรีม”

© Copyright 2024 คูโบต้า มหาสารคาม All Rights Reserved. | Design by iJude.net