การตรวจวัดสภาพ ความเป็นกรด – ด่าง ของดิน

สภาพความเป็นกรด-ด่างของดินนิยมแสดงด้วยค่าพีเอช(pH) มีค่าอยู่ระหว่าง1-14 โดยมีค่ากึ่งกลางอยู่ที่ 7 ซึ่งบอกถึงความเป็นกลางค่าพีเอชยิ่งต่ำกว่า 7 มากเท่าไร ความเป็นกรดยิ่งรุนแรง ส่วนค่าพีเอชสูงกว่า 7 บอกสภาพความเป็นด่าง ความเป็นกรด-ด่างของดินเกี่ยวข้องกับระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน เช่น ในดินที่มีเอชต่ำกว่า5.5หรือสูงกว่า8.5 พืชอาจแสดงอาการขาดแคลเซียมและแมกนีเซียมรวมทั้งโพแทสเซียม หรือในดินที่พีเอชต่ำกว่า5.0เมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตลงไป พืชอาจใช้ประโยชน์ได้เพียงร้อยละ10 ของส่วนที่ควรเป็นประโยชน์ ต่อพืช ฟอสเฟตในดินจะถูกตรึงน้อยที่สุดที่ระดับพีเอช6-7นอกจากนี้ความเป็นประโยชน์ของจุลธาตุในดินก็ขึ้นอยู่กับ ความเป็นกรด-ด่างของดินอย่างมาก
-ใส่ดินลงในหลุมพลาสติกประมาณครึ่งหลุม โดยใช้ช้อนตักดิน

-หยดน้ำยาเบอร์ 10 ลงไปจนดินอิ่มตัวด้วยน้ำยา แล้วเพิ่มน้ำยาอีก2หยด

-เอียงหลุมพลาสติกไปมา เพื่อให้น้ำยาทำปฏิกริยากับดินอย่างทั่วถึง

-ถ้าดินเหนียว ดินจะเกาะกันเป็นก้อน ให้ใช้ปลายช้อนเขี่ยเบาๆ ระวัง! อย่าให้น้ำยาขุ่น

-ทิ้งไว้ 1 นาที เปรียบเทียบสีของน้ำยาที่บริเวณขอบหลุมกับแผ่นเทียบสีมาตรฐาน

1. หลักการ

(1) ตัวอย่างดินต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่จะตรวจสอบธาตุอาหารพืชเพื่อให้ได้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของดินในพื้นที่นั้น
2. อุปกรณ์และวิธีการ

2.1 อุปกรณ์
2.2 วิธีการ

(1) ถ้าขนาดของพื้นที่เกิน 25 ไร่หรือพื้นที่มีความไม่สม่ำเสมอให้แบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย ๆ แล้วกำหนดหมายเลขแปลงย่อยเหล่านั้น

(2) เดินสุ่มเก็บตัวอย่างดิน 15-20 จุดให้ทั่วในแต่ละแปลงย่อย

(3)การเก็บตัวอย่างดินแต่ละจุด

ใช้พลั่วหรือจอบขุดดินเป็นหลุมรูปคมขวานหรือรูปลิ่มในกรณีของพืชไร่ทั่วๆไปเช่นข้าวโพดให้มีความลึกประมาณ 15 ซม. แต่ข้าวใช้ความลึกเพียง 10 ซม. เพราะมีระบบรากตื้นกว่าข้าวโพดจากนั้นใช้พลั่วแซะดินด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 ซม. แบ่งดินตามแนวดิ่งออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันจะได้ดินที่มีรูปร่างเหมือนเส้นก๋วยเตี๋ยว 3 เส้นใช้เฉพาะส่วนกลาง (เส้นกลาง) ซึ่งมีความลึกตั้งแต่ผิวดินลงไปถึงก้นหลุมตัวอย่างดินที่ได้นับเป็นตัวแทนของดิน 1 จุดแล้วนำตัวอย่างดินใส่รวมกันในกระป๋องพลาสติกสำหรับไม้ผลและไม้ยืนต้นให้เก็บดินที่บริเวณรัศมีของทรงพุ่มใน 2 ระดับความลึกคือ 0-20 ซม. (ดินบน) และ 30-50 ซม. (ดินล่าง) โดยแยกตัวอย่างดินบนและดินล่างออกจากกันคนละกระป๋องและควรวิเคราะห์ใบด้วย
(4) คลุกเคล้าดินในกระป๋องให้เข้ากันเทลงบนผ้าพลาสติกคลุกเคล้าดินให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่งถ้าดินเปียกตากในที่ร่ม ห้ามตากแดด เพราะจะทำให้ผลการวิเคราะห์ดินคลาดเคลื่อน ย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ กองดินเป็นรูปฝาชีแบ่งดินออกเป็น 4 ส่วนเก็บดินไว้เพียงส่วนเดียวทำซ้ำจนเหลือดินหนักประมาณครึ่งกิโลกรัมสำหรับใช้ในการวิเคราะห์
(5) ถ้าดินยังเปียกอยู่ให้ตากในที่ร่มต่อไปแล้วบดให้ละเอียดโดยใช้ขวดแก้วที่สะอาดจากนั้นเก็บใส่ถุงและเขียนหมายเลขกำกับไว้
© Copyright 2024 คูโบต้า มหาสารคาม All Rights Reserved. | Design by iJude.net